
“การลาออกครั้งใหญ่” กับสังคมการทำงานของไทย
ในตอนต้นปีให้หลังมี การรายงานเรื่อง The Great Resignation หรือ “การลาออกครั้งใหญ่ของคนทำงาน” ซึ่งตรงกับสถิติสิงหาคมที่ ในอเมริกามีบุคลากรลาออกจากงานมากถึง 4.3 ล้านรายและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเหตุผลของการลาออกครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้คนได้ พบเห็นการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตจากโรคระบาด พวกเขาต้องนั่งทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดช่วงเวลาที่คนวัยทำงานเหล่านั้นนั่งคิดว่าหากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้งจะต้องเจอกับสภาพการทำงานที่เสี่ยงต่อโรคระบาดอีกหรือไม่ และถ้าการดูแลพนักงานในช่วงระหว่างที่ทุกคนต้องเผชิญกับสถานการณ์ของโรคระบาดไม่ได้รับการเอาใจใส่จากฝ่ายบริหารด้วยแล้ว พนักงานส่วนใหญ่จะตัดสินใจที่ จะไม่ไปต่อกับบริษัททันที แนวโน้มที่จะเกิด “การลาออกครั้งใหญ่” ในเมืองไทย “การลาออกครั้งใหญ่” ในเมืองไทยนั้นอาจจะยังไม่ได้มี ความน่าวิตกเท่ากับในสหรัฐอเมริกา เพราะส่วนหนึ่งสวัสดิการของรัฐกับคนที่ ทำงานในไทยและสหรัฐอเมริกาต่างกันมากในแง่ของเงินช่วยเหลือในช่วงระหว่างการว่างงาน แต่การลาออกครั้งใหญ่ในเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่ลูกจ้างถูกพักงานชั่วคราวและไม่ได้รับเงินเดือน หรือค่าแรง ทำให้พวกเขาขอลาออกจากงานที่ ทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานบริการตามร้านอาหารหรือภาคธุรกิจท่องเที่ยว และที่เกี่ยวเนื่อง คนที่ถูกลดเงินเดือนไปจนถึงไม่ได้รับเงินเดือนเลย ส่วนใหญ่แล้วจะตัดสินใจลาออกเพื่อไปหาที่ใหม่ที่ดีกว่าเก่า และมีจำนวนไม่น้อยที่ก้าวออกจากอาชีพเดิมไปเริ่มต้นใหม่ในถิ่นฐานบ้านเกิด รวมไปถึงบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบันที่ไม่อยากเป็ นลูกจ้างใคร […]