เปรียบเทียบ ซิโนฟาร์ม VS ไฟเซอร์ นักเรียนเลือกฉีดวัคซีนตัวไหนดี

เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอมใหม่ นักเรียนอายุ 12-17 ปี หรืออยู่ในระดับชั้นมัธยมปีที่ 1-6 หรือเสมอกัน จะได้รับการฉีดยาโควิด 19 แบรนด์ Pfizer ซึ่งได้รับการยินยอมจากองค์การอนามัยโลกแล้วว่าให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้

ขณะเดียวกันทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็ได้จัดโครงการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปีเช่นกัน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองลังเลใจว่า ควรให้ลูกฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ หรือ ซิโนฟาร์ม ดีกว่า ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา

  • วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในการต้านทานไวรัสที่สูงกว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม รวมทั้งไวรัสโคโรนา สายพันธุ์เดลตา ที่ระบาดในประเทศไทย
  • วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านสาธารณสุขระดับโลกหลายแห่ง รวมทั้ง อย. ประเทศไทย ว่าสามารถใช้สำหรับเด็กอายุ 12-17 ปีได้ ขณะที่วัคซีนซิโนฟาร์ม ทาง อย. ประเทศไทย ยังไม่ได้อนุมัติ (ข้อมูลเดือนกันยายน 2564) ยกเว้นกรณีเพื่อศึกษาวิจัยที่ไม่ต้องขออนุญาต อย. อย่างเช่นโครงการ VACC 2 School ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • วัคซีนไฟเซอร์ถูกนำมาฉีดให้เด็ก ๆ ในหลายประเทศแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน ฮ่องกง ฯลฯ ส่วนวัคซีนซิโนฟาร์ม ปัจจุบันมีการอนุมัติใช้กับเด็ก 4 ประเทศ คือ จีน ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และชิลี (ข้อมูลเดือนกันยายน 2564)
  • วัคซีนซิโนฟาร์มมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผลิตจากเชื้อตาย อันเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโปลิโอ ฯลฯ ส่วนวัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน จึงยังไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่
  • ในเด็กผู้ชายจะมีความเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนชนิด mRNA) สูงกว่าเด็กผู้หญิง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ ขณะที่วัคซีนซิโนฟาร์ม ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงในเด็ก
  • หากมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ควรปรึกษาแพทย์ประเมินภาวะของโรคก่อนฉีดวัคซีน mRNA

รวมความคิดเห็นจากแพทย์

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

          เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับเด็กและวัยรุ่น ฉบับที่ 2 โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้การรับรองใช้ในเด็กและวัยรุ่นแล้ว ซึ่งปัจจุบันยังมีเพียงวัคซีนไฟเซอร์ชนิดเดียว พร้อมแนะนำให้เด็กอายุ 16-18 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ส่วนเด็กอายุ 12-16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ขณะที่ส่วนเด็กอายุ 12-16 ปี ที่แข็งแรง และเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ให้รอผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ปรับคำแนะนำการฉีดวัคซีนให้เด็ก ดังนี้

– เด็กและวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ได้ทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
– เด็กอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม
– เด็กผู้หญิงอายุ 12-15 ปี ทุกคน สามารถรับวัคซีนไฟเซอร์ได้ 2 เข็ม
– เด็กผู้ชายอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่แข็งแรงดี G2GBETให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม และชะลอการฉีดเข็มที่ 2 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม

เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัยของวัคซีนในเด็กผู้ชายยังไม่เพียงพอ จากข้อมูลในสหรัฐอเมริกาพบความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในเด็กชายอายุ 12 ปี จนถึงน้อยกว่า 16 ปี มีจำนวน 162.2 คน ต่อการฉีดวัคซีนเข็มสอง 1 ล้านโดส ขณะที่เด็กผู้หญิงพบอัตราการเกิดเพียง 13 คน ต่อการฉีดวัคซีนเข็มสอง 1 ล้านโดส

ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
          หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การให้วัคซีนในเด็กจะต้องมีความปลอดภัยสูง ซึ่งวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และจะพบในคนอายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุ เพศชายมากกว่าเพศหญิง และส่วนใหญ่พบในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก ในหลายประเทศจึงฉีดวัคซีน mRNA ให้เด็กเพียงเข็มเดียว ดังนั้นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับเป็นแนวทางในการฉีดวัคซีนเข็มเดียว เพื่อลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
          ขณะที่หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ในกลุ่มเด็กควรได้รับวัคซีนทั้งหมด แต่มีข้อควรระวังอย่างสูงในกรณีของวัคซีนไฟเซอร์ หรือตระกูล mRNA เกี่ยวข้องกับหัวใจอักเสบที่จะพบได้ในกลุ่มอายุเช่นนี้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ดังนั้นการฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มน่าจะให้ความปลอดภัยได้มากกว่า แต่เนื่องจากวัคซีนเชื้อตายไม่สามารถคุมสายพันธุ์เดลตาได้ หลังจากนั้นอาจฉีดเข็ม 3 กระตุ้นต่อด้วยไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา ในจำนวนต่ำที่สุดเป็น 1/4 โดส เข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเห็นผล หรือจะใช้ขนาด 1/5 หรือ 1/10 ฉีดเข้าชั้นผิวหนังก็ได้ผลเหมือนกัน รวมทั้งไม่มีอันตรายกว่า

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*